วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สาเหตุคือปัญหาประชากร ไม่ใช่การบริโภค

มีผู้โต้เถียงมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าการบริโภคเป็นปัญหาใหญ่กว่าภาวะประชากรล้นเกิน และเราเพิ่งได้ยินเช่นนั้นจากปากของ "นักสิ่งแวดล้อม" ผู้โต้เถียงมีตรรกะว่า เนื่องจากการบริโภคเป็นตัวขับเคลื่อนความเสื่อมถอยของสิ่งแวดล้อมที่สำคัญกว่าภาวะประชากรล้นเกิน ดังนั้นเราจึงควรเลิกสนใจปัญหาประชากร และหันไปมุ่งเน้นปัญหาการบริโภคแทน บางคนให้เหตุผลว่า ประชากรที่มีฐานะร่ำรวยบริโภคมาก ในขณะที่ประชากรที่ยากจนบริโภคน้อย เราจึงควรผลักดันให้ประชากรที่ร่ำรวยบริโภคให้น้อยลง

พวกเขากล่าวว่า

"การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ต่อหัวของประเทศยากจน มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเป็นระยะหนึ่ง แม้ว่าสภาพการณ์ต่างๆ ของประเทศเหล่านั้นจะอยู่ในขั้นดีที่สุดก็ตาม แต่คาร์บอนไดออกไซต์ที่ถูกปล่อยเพิ่มขึ้น เกิดจากปัญหาการบริโภค มิใช่ปัญหาประชากร"

การบริโภคทรัพยากรธรรมชาติโดยมนุษย์ ต้องมีมนุษย์เป็นผู้บริโภค เมื่อมนุษย์เพิ่มขึ้น ก็เท่ากับกิจกรรมของมนุษย์เพิ่มขึ้น

การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ต่อหัวจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในประเทศยากจน เมื่อพวกเขาสามารถเริ่มซื้อเทคโนโลยีที่พวกเราไม่คิดว่าพวกเขาจะซื้อได้ แม้ว่ารถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักร และอื่นๆ จะมีประสิทธิภาพทางพลังงานมากเพียงใด แต่การผลิตและการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้เพิ่มขึ้น จะนำไปสู่การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์เพิ่มขึ้น เป็นนิยายเพ้อภพของ "ผู้เชื่ิอว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสามารถสร้างความก้าวหน้าและตอบสนองความต้องการทรัพยากรได้ไม่สิ้นสุด"ผู้คิดว่าประชากรที่เพิ่มขึ้น 50% จะมีมาตรฐานความเป็นอยู่ในระดับเดียวกับ "ประเทศโลกที่หนึ่ง" โดยไม่ก่อความเสียหายให้แก่ระบบนิเวศอย่างร้ายแรง ช่างเป็นนิยายเพ้อภพตั้งแต่แรกเริ่มที่จะคิดว่าจะสร้างสิ่งนั้นขึ้นได้

แม้ว่ามนุษย์จะค้นพบวิธีการผลิตพลังงานได้พอรองรับความต้องการของเรา โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมแม้น้อยนิด แต่การใช้พลังงานของเราจะเพิ่มขึ้น ซึ่งก่อความเสียหายต่างๆ ด้วยเหตุผลง่ายๆ คือ จำนวนมนุษย์ที่เพิ่มขึ้น หากไม่รวมสาเหตุอื่นด้วย

ขอขอบคุณคำตอบของข้อโต้เถียงนี้ จากชาววีฮีเมนท์ (www.vhemt.org)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น