วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

หยุดโีรงงานปั๊มสุนัข



สุนัขและแมวจำนวนมากทุกข์ทรมานทั่วโลก พวกเขาเป็นนักโทษแห่งความละโมบ พวกเขาถูกขังในกรงเล็กๆ หนาวเหน็บในฤดูหนาว และร้อนระอุในฤดูร้อน สุนัขเหล่านี้ไม่เคยออกจากคุก พวกเขาถูกผสมพันธุ์ซ้ำแล้วซ้ำอีกจนตาย วิธีการเดียวที่จะปลดปล่อยพวกเขาจากความทุกข์ทรมานในโรงงานปั๊มสุนัขที่น่าขยาดกลัวนี้ คือ การกำจัดความต้องการซื้อลูกสุนัข โดยปฏิเสธที่จะซื้อลูกสุนัขจากร้านขายสัตว์เลี้ยง เมื่อผู้คนหยุดซื้อ โรงงานปั๊มสุนัขจะไม่สามารถดำรงธุรกิจอยู่ได้อีกต่อไป และความทุกข์ทรมานก็จะสิ้นสุด โปรดร่วมต่อสู้เพื่อปลดปล่อยนักโทษแห่งความละโมบนี้ ผู้เดียวที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับชีวิตของสุนัขที่กำลังทุกข์ทรมานในโรงงานปั๊มสุนัข (Puppy Mills) คือ คุณ คุณซึ่งเป็นประชาชนที่เมตตา สามารถปลดปล่อยสุนัขเหล่านี้ออกจากคุกโรงงานปั๊มสุนัขได้




การปฏิวัติที่แท้จริง

แล้วอะไรล่ะที่ทำให้คุณเปลี่ยนแปลง โปรดถามตัวคุณเอง และหลอมละลายไปกับคำถามนั้น เพราะเราติดกับอยู่ในนิสัย บ้านของคุณกำลังไฟไหม้ และเห็นได้ชัดว่าคุณไม่ใส่ใจ ถ้าคุณไม่เปลี่ยนแปลง สังคมก็จะเป็นอย่างที่เป็นอยู่ ผู้คนที่ฉลาดก็จะมาบอกว่าสังคมต้องเปลี่ยน เราต้องการโึครงสร้างใหม่ จากนั้นโครงสร้างใหม่ก็จะกลายเป็นสิ่งสำคัญกว่ามนุษย์ ดังที่การปฏิวัติทั้งหมดทั้งปวงแสดงให้เห็น

หลังจากพิจารณาทุกอย่างนี้แล้ว ลองตั้งคำถามว่า มีการเรียนรู้ ความฉลาดที่ตื่นรู้ ความรับรู้ความเป็นระเบียบ ในชีวิตของเราบ้างไหม หรือพวกเราถอยหลังกลับสู่ชีวิตประจำวันที่จำเจ หากคุณมีความฉลาดเช่นนั้น ความดีเช่นนั้น ความรู้สึกถึงความรักอันยิ่งใหญ่ คุณก็จะสร้างสังคมใหม่ได้อย่างน่าพิศวง สังคมที่เราทุกคนมีชีวิตอย่างมีความสุข เกิดโลกที่เป็นของเรา ไม่ใช่โลกของคนอินเดีย หรือโลกของคนอังกฤษ เป็นโลกของเราที่เราสามารถมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข ฉลาดเฉลียว ไม่ใช่อยู่อย่างเบียดเบียนกัน ดังนั้นโปรดใช้หัวใจและปัญญาในการค้นหาว่าทำไมคุณจึงไม่เปลี่ยนแปลงแม้ในเรื่องเล็กน้อย โปรดใส่ใจชีวิตของคุณ คุณมีความสามารถที่มากล้น ความเปลี่ยนแปลงทุกอย่างกำลังรอให้คุณเปิดประตูรับ

ชิฑฑู กฤษณมูรติ
พูดต่อสาธารณชน ครั้งที่ 3, 29 ธันวาคม 2522, เมืองเชนไน อินเดีย

สาเหตุคือปัญหาประชากร ไม่ใช่การบริโภค

มีผู้โต้เถียงมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าการบริโภคเป็นปัญหาใหญ่กว่าภาวะประชากรล้นเกิน และเราเพิ่งได้ยินเช่นนั้นจากปากของ "นักสิ่งแวดล้อม" ผู้โต้เถียงมีตรรกะว่า เนื่องจากการบริโภคเป็นตัวขับเคลื่อนความเสื่อมถอยของสิ่งแวดล้อมที่สำคัญกว่าภาวะประชากรล้นเกิน ดังนั้นเราจึงควรเลิกสนใจปัญหาประชากร และหันไปมุ่งเน้นปัญหาการบริโภคแทน บางคนให้เหตุผลว่า ประชากรที่มีฐานะร่ำรวยบริโภคมาก ในขณะที่ประชากรที่ยากจนบริโภคน้อย เราจึงควรผลักดันให้ประชากรที่ร่ำรวยบริโภคให้น้อยลง

พวกเขากล่าวว่า

"การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ต่อหัวของประเทศยากจน มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเป็นระยะหนึ่ง แม้ว่าสภาพการณ์ต่างๆ ของประเทศเหล่านั้นจะอยู่ในขั้นดีที่สุดก็ตาม แต่คาร์บอนไดออกไซต์ที่ถูกปล่อยเพิ่มขึ้น เกิดจากปัญหาการบริโภค มิใช่ปัญหาประชากร"

การบริโภคทรัพยากรธรรมชาติโดยมนุษย์ ต้องมีมนุษย์เป็นผู้บริโภค เมื่อมนุษย์เพิ่มขึ้น ก็เท่ากับกิจกรรมของมนุษย์เพิ่มขึ้น

การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ต่อหัวจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในประเทศยากจน เมื่อพวกเขาสามารถเริ่มซื้อเทคโนโลยีที่พวกเราไม่คิดว่าพวกเขาจะซื้อได้ แม้ว่ารถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักร และอื่นๆ จะมีประสิทธิภาพทางพลังงานมากเพียงใด แต่การผลิตและการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้เพิ่มขึ้น จะนำไปสู่การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์เพิ่มขึ้น เป็นนิยายเพ้อภพของ "ผู้เชื่ิอว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสามารถสร้างความก้าวหน้าและตอบสนองความต้องการทรัพยากรได้ไม่สิ้นสุด"ผู้คิดว่าประชากรที่เพิ่มขึ้น 50% จะมีมาตรฐานความเป็นอยู่ในระดับเดียวกับ "ประเทศโลกที่หนึ่ง" โดยไม่ก่อความเสียหายให้แก่ระบบนิเวศอย่างร้ายแรง ช่างเป็นนิยายเพ้อภพตั้งแต่แรกเริ่มที่จะคิดว่าจะสร้างสิ่งนั้นขึ้นได้

แม้ว่ามนุษย์จะค้นพบวิธีการผลิตพลังงานได้พอรองรับความต้องการของเรา โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมแม้น้อยนิด แต่การใช้พลังงานของเราจะเพิ่มขึ้น ซึ่งก่อความเสียหายต่างๆ ด้วยเหตุผลง่ายๆ คือ จำนวนมนุษย์ที่เพิ่มขึ้น หากไม่รวมสาเหตุอื่นด้วย

ขอขอบคุณคำตอบของข้อโต้เถียงนี้ จากชาววีฮีเมนท์ (www.vhemt.org)